เนื่อหา

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

บทที่ 3 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

3.1 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
          คอมพิวเตอร์ (computer) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี (Integrated Circuit : IC) ต่างๆ มากมาย ซึ่งสามารถจดจำ ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบ ตัดสินใจทางตรรกศาสตร์คำนวณทางคณิตศาสตร์ สามารถใช้ช่วยในการออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้ อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการด้านอื่นๆ ได้อย่างหลากหลาย
          คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 5 หน่วย ได้แก่ หน่วยรับเข้า (input unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยความจำ (memory unit) หน่วยส่งออก (output unit) และหน่วยเก็บข้อมูล (storage unit) แต่ละหน่วยทำหน้าที่ประสานกัน




3.2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
          การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเริ่มจากผู้ใช้ป้อนข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยรับเข้า (input device) เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ ข้อมูลจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 แล้วส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลาง เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ในระหว่างการประมวลผล หากมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลไปจัดเก็บในหน่วยความจำ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกส่งไปยังแรม (Random Access Memory : Ram) ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากการประมวลผลเป็นการชั่วคราว ขณะเดียวกัน อาจมีคำสั่งให้นำผลลัพธ์จากการประมวลผลดังกล่าวไปแสดงผลผ่านทางอุปกรณ์ของหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์ นอกจากนี้เราสามารถบันทึกข้อมูลที่อยู่ในแรมลงในอุปกรณ์ของหน่วยเก็บข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวกลับมาใช้อีกในอนาคต โดยการอ่านข้อมูลที่บันทึกในสื่อดังกล่าวผ่านทางเครื่องขับหรือไดร์ฟ (drive) การส่งผ่านข้อมูลไปยังหน่วยต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบบัส (bus)

รูปที่3.2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
3.2.1 ซีพียู และการประมวลผลข้อมูล
          ซีพียู (Central Processing Unit : CPU) มีลักษณะเป็นชิป (chip) ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งชิปดังกล่าวเป็นสารกึ่งตัวนำขนาดเล็ก ภายในบรรจุวงจรอิเล็กรอนิกส์ต่างๆ ไว้มากมาย โดยวงจรจะประกอบด้วยทรานซิสเตอร์ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก บางครั้งจึงเรียกชิปต่างๆ ว่า ไอซี

รูปที่3.3 ตัวอย่างของซีพียู
          ในอดีติซีพียูจะมีขนาดใหญ่ แต่ในปัจจุบันเมื่อนำสารกึ่งตัวนำมาใช้ก็ทำให้ซีพียูถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยรวมวงจรต่างๆ ไว้ในชิปเพียงตัวเดียวเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ซึ่งกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีไมโครโพรเซสเซอร์เป็นซีพียู ภายในไมโครโพรเซสเซอร์ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญสองส่วนคือ หน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณตรรกะ หรือที่เรียกสั้นๆว่า เอแอลยู

วงรอบการทำงานของคำสั่ง (machine cycle)
          การทำงานของคอมพิวเตอร์จะต้องทำตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ในหน่วยความจำ โดยโปรแกรมเกิดจากการนำคำสั่งมาต่อเรียงกัน เมื่อคอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยควบคุมทำการอ่านคำสั่งต่างๆ เข้ามาประมวลผลในซีพียู โดยวงรอบของการทำคำสั่งของซีพียูประกอบด้วยขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ดังนี้
          1. ขั้นตอนการรับเข้าข้อมูล (fetch) เริ่มแรกหน่วยควบคุมรับรหัสคำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผลจากหน่วยความจำ
          2. ขั้นตอนการถอดรหัส (decode) เมื่อรหัสคำสั่งเข้ามาอยู่ในซีพียูแล้ว หน่วยควบคุมจะถอดรหัสคำสั่งแล้วส่งคำสั่งและข้อมูลไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ
          3. ขั้นตอนการทำงาน (execute) หน่วยคำนวณและตรรกะทำการคำนวณโดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาถอดรหัสคำสั่ง และทราบแล้วว่าต้องทำอะไร ซีพียูก็จะทำตามคำสั่งนั้น
          4. ขั้นตอนการเก็บ (store) หลังจากทำคำสั่งก็จะเก็บผลลัพธ์ที่ได้ไว้ในหน่วยความจำ
          ซีพียูยุคเก่า การทำคำสั่งแต่ละคำสั่งจะต้องทำวงรอบคำสั่งให้จบก่อน จากนั้นจึงทำวงรอบคำสั่งของคำสั่งต่อไป สำหรับซีพียูในยุคปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้ทำงานได้เร็วขึ้น โดยมีการแบ่งวงรอบคำสั่งนี้เป็นวงรอบย่อยๆ อีก มีการนำเทคนิคการทำงานแบบสายท่อ (pipeline) มาใช้ โดยขณะที่ทำวงรอบคำสั่งแรกอยู่ ก็มีการอ่านรหัสคำสั่งของคำสั่งถัดไปเข้ามาด้วย ซึ่งจะทำให้การทำงานโดยรวมของซีพียูเร็วขึ้นมาก

          หน่วยควบคุม (control unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ประสานงาน และควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ควบคุมให้อุปกรณ์รับข้อมูล ส่งข้อมูลไปที่หน่วยความจำ ติดต่อกับอุปกรณ์แสดงผลเพื่อสั่งให้นำข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังอุปกรณ์แสดงผล โดยหน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์จะแปลความหมายของคำสั่งในโปรแกรมของผุ้ใช้ และควบคุมให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
          หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือ เอแอลยู (Arithmetic-Logic Unit : ALU) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ในการคำนวณต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบทางตรรกะ เพื่อทำการตัดสินใจ เช่น การเปรียบเทียบข้อมูล การเปรียบเทียบว่าจริงหรือเท็จ
          การทำงานของเอแอลยู จะรับข้อมูลจากหน่วยความจำมาไว้ในที่เก็บชั่วคราวของเอแอลยูที่เรียกว่า เรจิสเตอร์ (register) เพื่อทำการคำนวณแล้วส่งผลลัพธ์กลับไปยังหน่วยความจำ

รูปที่3.4 หน่วยความจำแบบแฟลซที่อยู่บนเมนบอร์ด
3.2.2 หน่วยความจำ และการจัดเก็บข้อมูล
          หน่วยความจำ (memory unit) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญบนเมนบอร์ดที่ทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1) หน่วยความจำแบบไม่สามารถลบเลือนได้ (non volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมุลได้ แม้ว่าไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ตัวอย่างของหน่วยความจำชนิดนี้ เชี่น รอม และหน่วยความจำแบบแฟรซ
          - รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำแบบอ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
          - หน่วยความจำแบบแฟรซ (flash memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถลบและเขียนข้อมูลใหม่ได้
          ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีการใช้รอมในการเก็บไบออส (Basic Input Output System : BIOS) ไบออสทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นกระบวนการบูต (boot) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้หน่วยความจำแบบแฟรซในการเก็บไบออสแทน
          2) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม
          แรม (Random Access Memory : RAM) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
          1. สแตติกแรม หรือเอสแรม (Static RAM : SRAM) มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความจำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม
          2. ไดนามิกแรม หรือ ดีแรม (Dynamic RAM : DRAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซีมากที่สุด เนื่องจากราคาไม่แพงและมีความจุสูง

รูปที่3.5 ก เอสแรม

รูปที่3.5 ข ดีแรม
          ในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เช่น ถ้าต้องการให้คอมพิวเตอร์แสดงผลการบวกตัวเลขสองจำนวน ซีพียูจะต้องติดต่อกับแรมที่ใช้เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลต่างๆ ไว้

รูปที่3.6 แสดงผลชุดคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจากซีพียู

3.2.3 ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ
          ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีเมนบอร์ดที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู หน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ โดยการส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างอุปกรณ์ จะอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งผ่านระบบส่งถ่ายข้อมูลที่เรียกว่าบัส (bus) 

รูปที่3.7 ระบบบัส
          ขนาดของบัส (bus width) กำหนดโดยจำนวนบิตที่คอมพิวเตอร์สามารถถ่ายโอนข้อมูลได้ในหนึ่งครั้ง ตัวอย่างเช่น บัส 32 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 32 บิต บัสขนาด 64 บิต สามารถรับส่งข้อมูลได้ครั้งละ 64 บิต เป็นต้น บัสที่มีจำนวนบิตมากจะทำให้การรับส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ทำได้เร็วขึ้น
          การบอกความเร็วบัสมักวัดเป็นจำนวนครั้งที่รับส่งข้อมูลได้ในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งมีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) เช่น บัสที่มีความเร็ว 1 MHz หมายความว่าบัสนี้สามารถรับส่งข้อมูลได้หนึ่งล้านครั้งต่อวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พบในปัจจุบันจะมีค่าความเร็วบัสเป็น 667,800,1066 หรือ 1333 MHz ถ้าความเร็วบัสมีค่ามากหมายความว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็ว ก็จะทำให้เวลาการทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้นไปด้วย
3.3 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน
          เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถประมวลผลได้เร็วขึ้น แต่ราคาถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานทำได้ง่าย มีให้เลือกหลายรุ่นตามร้านค้าทั่วไป แต่ผู้ใช้งานควรพิจารณาว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อทำงานด้านใด เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์มีทั้งแบบที่ใช้ได้กับงานทุกประเภท หรือใช้งานเฉพาะด้าน แม้ว่าราคาเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกลง แต่ผุ้ใช้ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อให้คุ้มค่ากับจำนวนเงิน ตัวอย่างของการเลือกซ้อเครื่องคอมพิวเตอร์ตามลักษณะของงานแต่ละประเภท เช่น
          - งานเอกสาร หรืองานในสำนักงาน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับจัดการด้านเอกสาร รายงาน ตกแต่งภาพ ทำการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ ดูภาพยนตร์หรือสื่อทางการศึกษา ติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ และซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ซีพียูที่มีความเร็วสูง คือประมาณ 1GHz ขึ้นไป แต่ควรมีแรมอย่างน้อย 1GB และอาจเลือกใช้จอภาพแบบแอลซีดีขนาดใหญ่ 17-19 นิ้วเพื่อถนอมสายตา เนื่องจากลักษณะงานต้องจ้องมองจอภาพตลอดเวลา
          - งานกราฟิก เป็นการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการตกแต่งและออกแบบภาพ และมีการเรียนใช้งานกราฟิกหลายๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ใช้ซอฟต์แวร์กราฟิกในการสร้างชิ้นงาน เช่น งานสิ่งพิมพ์ งานนำเสนอแบบมัลติมีเดีย สร้างเว็บไซต์ ติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวนมาก ที่มีทั้งภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานประเภทนี้จำเป็นต้องมีซีพียูที่มีความเร็วอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง ประมาณ 2 GHz ขึ้นไป ใช้แรมอย่างน้อย 2 GB ขึ้นไป และมีฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
          - งานออกแบบที่ต้องแสดงผลเป็น 3 มิติ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบภาพ 3 มิติ สร้างภาพยนตร์ สร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (animation) ตัดต่อวีดิทัศน์ ตัดต่อเพลง เล่นเกมที่มีภาพกราฟฟิกสูง และงานประเภทนี้ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถในการคำนวณ และแสดงภาพความละเอียดสูงสุดได้ ดังนั้น ควรเลือกซีพียูที่มีความเร็วสูงไม่น้อยกว่า 2 GHz มีแรมอย่างน้อย 4 GB การ์ดจอแสดงผลที่สามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงได้ดี ควรใช้จอภาพขนาดไม่ต่ำกว่า 24 นิ้ว และควรมีเครื่องสำรองไฟเนื่องจากการทำงานประเภทนี้ คอมพิวเตอร์จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลนาน ถ้าหากไฟดับหรือไฟกระตุกจะไม่สะดวกในการเริ่มงานใหม่


3.4 การเลือกซ้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์
          สำหรับผู้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เอง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดขายเป็นชุดให้แล้ว และเลือกซื้อจากบริษัทที่เชื่อถือได้ เนื่องจากผู้ผลิตได้เลือกอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมมาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว

รูปที่3.8 ตัวอย่างชุดเซ็ตคอมพิวเตอร์

          สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเลือกซื้อชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ตามที่ต้องการหรือเพื่อปรับปรุงอุปกรณ์บางอย่าง เช่น ซีพียู เมนบอร์ด และแรม อุปกรณ์เหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว หลักในการพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์แต่ละชนิดมีดังนี้

รูปที่3.9 อุปกรณ์ประกอบคอมพิวเตอร์
          3.4.1 ซีพียู เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดและเป็นปัจจัยแรกในการพิจารณาเมื่อคิดที่จะซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากมีผลต่อการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด เป็นต้น และซีพียูยังเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย ในการเลือกซื้อซีพียูสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย เช่น บริษัทผู้ผลิต ความเร็วซีพียู แคช ความเร็วบัส

รูปที่3.10 ตัวอย่างคุณลักษณะของซีพียู

          ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อซีพียู
          1) บริษัทผู้ผลิต ในปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูชั้นนำ 2 บริษัท คือ บริษัทอินเทล (Intel Corporation) และบริษัทเอเอ็มดี (Advanced Micro Devices : AMD) โดยทั้งสองบริษัทได้มีการผลิตซีพียูที่แบ่งตามจำนวนของแกนประมวลผล (Processing core)

ตารางที่ 3.1 ชนิดของซีพียู 

          2) ความเร็วของซีพียู ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับความถี่สัญญาณนาฬิกา ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่คอยกำหนดจังหวะการทำงานประสานของวงจรภายในให้สอดคล้องกัน สัญญาณดังกล่าวจะมีหน่วยความถี่เป็นเมกะเฮิรตซ์ (megahertz) หรือล้านครั้งต่อวินาที ถึงระดับกิกะเฮิรตซ์ (gigahertz) หรือพันล้านครั้งต่อวินาที
          3) หน่วยความจำแคช (cache) ในซีพียูมีหน่วยความจำแคช ซึ่งเป็นหน่วยความจำความเร็วสูงเพื่อให้การทำงานเร็วขึ้นเนื่องจากแรมมีความเร็วที่ช้ากว่าซีพียูจึงจำเป็นที่ต้องมีหน่วยความจำแคช เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวเพื่อให้ซีพียูทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยควรพิจารณาเลือกซื้อซีพียูที่มีความจุของหน่วยความจำแคชมาก
          4) ความเร็วบัส คือ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ควรพิจารณาซีพียูที่มีความเร็วบัสสูงและสอดคล้องกับความเร็วของอุปกรณ์อื่น เช่น เมนบอร์ด และแรม

หน่วยความจำแคช

ตารางที่ 3.2 การเลือกใช้ซีพียูให้เหมาะสมกับงาน

          3.4.2 เมนบอร์ด (mainboard) หรืออาจเรียกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ (motherboard : mobo) เป็นแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียูไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ สายสัญญาณ และบัสต่างๆ ขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสรามภายใน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไดร์ฟและพอร์ตต่ออุปกรณ์รอบข้าง เช่น เมาส์ และ คีย์บอร์ด

รูปที่3.11 แสดงส่วนประกอบของเมนบอร์ด


          โดยทั่วไปการระบุคุณลักษณะของเมนบอร์ดในชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ อาจระบุเฉพาะชนิด หรือจำนวนของพอร์ต และสล็อต เช่น พอร์ต USB หรือสล็อต PCI ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเมนบอร์ดเท่านั้น ตัวอย่างชนิดของพอร์ตและสล็อตที่ระบุในแผ่นพับชุดคอมพิวเตอร์สำเร็จ

รูปที่3.12 ตัวอย่างชนิดพอร์ตและสล็อต


รูปที่3.13 ตัวอย่างรายละเอียดเมนบอร์ด


รูปที่3.14 พอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกแบบต่างๆ



ตารางที่ 3.3


ตารางที่ 3.4


          สำหรับผู้ใช้ที่ต้องการเปลี่ยนเมนบอร์ด หรือต้องการซื้อเมนบอร์ดเพื่อนำมาประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อเมนบอร์ด เช่น ซ็อกเก็ตซีพียู ฟรอนต์ไซด์บัส สล็อตหน่วยความจำ ช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ หรือสล็อต พอร์ต ขั้วต่อและรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์

          3.4.3 แรม ในการเลือกซื้อแรมเพื่อนำมาใช้งรานกับพีซี มักจะเป็นแรมชนิดดีดีอาร์เอสดีแรม (Double Data Rate Synchronous Dynamic RAM : DDR SDRAM) ซึ่งจะต้องพิจารณาประเภทของแรมให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด และสิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปควรให้ความสำคัญในลำดับต่อมาคือ ขนาดความจุ และความเร็ว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย

รูปที่3.15 ตัวอย่างการระบุคุณลักษณะของแรม

รูปที่3.16 ตัวอย่างของแรมชนิดต่างๆ

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อแรม
          1) ประเภทของแรม ต้องพิจารณาเลือกซื้อให้ตรงกับสล็อตหน่วยความจำบนเมนบอร์ด แรมที่ใช้ในพีซี เช่น DDR , DDR2 และ DDR3 โดยแรมแต่ละชนิดจะมีตำแหน่งรอยบากที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถเสียบแรมบนสล็อตได้ถูกต้อง
          2) ความจุ ปัจจุบันแรมมีให้เลือกตั้งแต่ความจุ 256 MB ขึ้นไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานด้านกราฟิกหรือมัลติมีเดียระดับสูง จะใช้แรมที่มีความจุสูงขึ้นตามไปด้วย สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมักจะติดตั้งแรมความจุ 1 GB ขึ้นไป
          บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์จะมีสล็อตสำหรับติดตั้งแรมมากกว่า 1 ช่อง ผู้ใช้สามารถติดตั้งแรมได้หลายตัว แต่ต้องเป็นชนิดเดียวกัน ตามที่สล็อตติดตั้งจะมีให้ โดยความจุแรมของพีซีจะเท่ากับผลรวมจากความจุของแรมทั้งหมด

รูปที่3.17 การติดตั้งแรมบนเมนบอร์ด

          3) ความเร็วของแรม ความเร็วของแรม หมายถึง จำนวนครั้งที่สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้ภายในหนึ่งวินาที โดยมีหน่วยวัดเป็น เมกะเฮิรตซ์ (MHz) เช่น DDR3 มีความเร็ว 1,333 MHz เป็นต้น ผุ้ใช้งานต้องเลือกความเร็วของแรมให้สอดคล้องกับความเร็วบัสของเมนบอร์ดด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าระบบบัสบนเมนบอร์ด (FSB) ทำงานด้วยความเร็ว 1,066 MHz แต่นำแรมที่มีความเร็ว 1,333 MHz มาใช้งานจะได้สามารถทำงานที่ความเร็ว 1,333 MHz ได้ ตัวอย่างของระบบบัสบนเมนบอร์ดกับแรมเปรียบได้กับการที่รถวิ่งบนถนนเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย
          ในบางครั้งอาจใช้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลในการจำแนกรุ่นของแรม เช่น PC2-5400 คือ แรมชนิด DDR2 – 667 ที่มีค่าอัตราการถ่ายโอนข้อมูลประมาณ 5,400 MB/s หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่จะรับส่งได้ภายในหนึ่งวินาที (คำนวณจาก 667 MHz X 8 ไบต์)

รูปที่3.18 ระบบบัสบนเมนบอร์ด

          3.4.4 ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) เป็นอุปกร์ในการเก็บข้อมูล ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันในพีซีโดยทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีขนาด 2.5 และ 1.8 นิ้วนั้นนิยมใช้กับโน๊ตบุ๊ก

รูปที่3.19 ฮาร์ดิสก์

          การพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อ ความจุของข้อมูล และความเร็วรอบของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์มีราคาที่แตกต่างกัน

รูปที่3.20 การระบุคุณลักษณะของฮาร์ดิสก์

ปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์
          1) การเชื่อมต่อ มาตรฐานการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้งานอยู่บนพีซีในปัจจุบัน ใช้มาตรฐาน EIDE และ SATA ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใด
          2) ความจุข้อมูล มีหน่วยเป็น กิกะไบท์ (GB) หรือเทระไบต์ (TB) ซึ่งขนาดความจุข้อมูลของฮาร์ดดิสก์นั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
          3) ความเร็วรอบ เป็นอัตราเร็วในการหมุนของฮาร์ดดิสก์เพื่อให้หัวอ่าน-เขียน เข้าถึงข้อมูลฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงจะทำให้มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง โดยทั่วไปฮาร์ดดิสก์ของพีซีจะมีความเร็วรอบอยู่ที่ 7,200 รอบต่อนาที (rpm)

รูปที่3.21 การเชื่อมต่อแบบSATA และ EIDE

          3.4.5 การ์ดแสดงผล (display card, graphics card หรือ video card) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิจิทัลมาเป็นสัญญาณที่ส่งไปที่จอภาพ การ์ดแสดงผลอาจอยู่ในรูปแบบการ์ดหรืออาจติดตั้งมาบนเมนบอร์ดแล้ว
          การที่ผุ้ใช้ต้องการปรับปรุงการ์ดแสดงผลเนื่องจากต้องการใช้กับงานที่ต้องการแสดงผลภาพสามมิติได้อย่างคมชัด ซึ่งคอมพิวเตอร์ชุดสำเร็จที่ผู้ขายจัดให้อาจไม่สามารรถแสดงผลภาพดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับปัจจัยในการพิจารณาเลือกซื้อการ์ดแสดงผล เช่น ชิปประมวลผล กราฟิก การเชื่อมต่อ และความจุของหน่วยความจำบนการ์ด

รูปที่3.22 การระบุคุณลักษณะของการ์ดแสดงผล

ปัจจัยในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล
          1) ชิปประมวลผลกราฟิก หรือจีพียู (graphic processing unit : GPU) เป็นอุปกรณ์พิเศษที่เพิ่มความเร็วในการแสดงผลโดยลดภาระซีพียูในการคำนวณข้อมูลที่จะส่งไปที่จอภาพ ตัวอย่างการเลือกซื้อจีพียู เช่น ถ้าต้องการประมวลผลภาพสามมิติ อาจใช้ชิปของบริษัท nVIDIA รุ่น
GForce 9 และ GTX2xx หรือชิปของบริษัท ATi รุ่น Radeon HD 4000
          2) การเชื่อมต่อ มี 2 แบบ คือ แบบใช้กับบัส PCI Express และบัส AGP โดย PCI Express จะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดซึ่งสามารถให้ความเร็วสูงสุดได้ถึง 16 GB/s ส่วน AGP มีประสิทธิภาพรองลงมา
          3) ความจุของหน่วยความจำบนการ์ด หน่วยความจำบนการ์ด (Video RAM) เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลภาพที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ ถ้าความจุของหน่วยความจำมาก จะทำให้แสดงภาพมัลติมีเดียความละเอียดสูงได้ดี การบอกความจุของหน่วยความจำบนตัวการ์ด เช่น DDR3 512 MB
          3.4.6 ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ (optical disk drive) ที่ใช้กันในปัจจุบัน เช่น ซีดีไดร์ฟและดีวีดีไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่พีซีทุกเครื่องควรมี เนื่องจากซีดี/ดีวีดีไดร์ฟมีราคาถูกลงมากนอกจากนี้สื่อที่ใช้เก็บบันทึก เช่น แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี มีความจุสูงและมีราคาถูก

รูปที่3.23 การระบุค่าความเร็วของ

การพิจารณาเลือกซื้อออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ
          จะพิจารณาจากความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล ซึ่งแต่ละชนิดจะระบุความเร็วไว้แตกต่างกัน ตามชนิดของออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ ดังนี้
          1. ซีดีไดร์ฟ (Compact Disc Drive : CD Drive) ใช้อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีได้อย่างเดียว
          2. ดีวีดีไดร์ฟ (Digital Versatile Disc Drive : DVD Drive) ใช้อ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี แต่ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดีหรือดีวีดีได้
          3. ซีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Compact Disc ReWritable Drive : CD-RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีได้ มีการระบุค่าความเร็วเช่น 52x/32x/52x หมายความว่า ความเร็วในการเขียน CD-R เท่ากับ 52x ความเร็วในการเขียนซ้ำ CD-RW เท่ากับ 32x และความเร็วในการอ่าน CD-ROM เท่ากับ 52x
          4. คอมโบไดร์ฟ (Combo Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลบนแผ่นซีดี และอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 52x/32x/52x/16x
          5. ดีวีดีอาร์ดับบลิวไดร์ฟ (Digital Versatile Disc ReWritable Drive : DVD+RW Drive) สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ทั้งแผ่นซีดีและแผ่นดีวีดี มีการระบุค่าความเร็ว เช่น 20x/12x/20x/8x
          3.4.7 เคส (case) โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่เป็นโครงยึดให้กับอุปกรณ์ภายในต่างๆ ที่ประกอบกันเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเคส หลักในการพิจารณาเลือกซื้อเคส เช่น
          - มีช่องระบายอากาศและระบบระบายความร้อน
          - มีพื้นที่หรือช่องที่จะเพิ่มอุปกรณ์ได้ เช่น การเพิ่มฮาร์ดดิสก์ การเพิ่มซีดี/ดีวีดีไดร์ฟ
          - ลักษณะของเคส เช่น เคสในแนวนอน ที่เรียกว่า เดสก์ท็อปเคส (desktop case) และเคสในแนวตั้งที่เรียกว่า ทาวเวอร์เคส (tower case)
          - ในกรณีที่เป็นการใช้งานโดยทั่วไป อาจะเลือกใช้เคสที่มีแหล่งจ่ายไฟ (power supply) ติดตั้งมาให้สำเร็จแล้ว แต่ถ้าต้องการติดตั้งอุปกรณ์ภายในหลายชิ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ การ์ดแสดงผลความเร็วสูง และพอร์ต USB ควรพิจารณาเลือกแหล่งจ่ายไฟที่มีความสามารถสูงขึ้น

รูปที่3.24 เคสของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ

          3.4.8 จอภาพ (monitor) ที่พบจะมีอยู่สองประเภทคือ จอซีอาร์ที (Cathode Ray Tube : CRT) และจอแอลซีดี (Liquid Crystal Display : LCD) ซึ่งในปัจจุบันจอแอลซีดีเป็นที่นิยมมากเนื่องจากมีราคาถูก ถนอมสายตา ประหยัดพลังงาน และใช้พื้นที่ในการจัดวางน้อย

รูปที่3.25 คุณลักษณะของจอภาพ

ปัจจัยในการเลือกซื้อจอภาพ เช่น
          - ความละเอียดของภาพ (resolution) หมายถึง จำนวนจุดหรือพิกเซลบนจอภาพ ถ้าหากมีความละเอียดสูงจะทำให้ภาพคมชัดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น จอภาพที่มีความละเอียด 1680 x 1050 เป็นจอภาพที่มีจุดภาพในแนวนอน 1680 จุด และมีจุดภาพในแนวตั้ง 1050 จุด
          - ขนาด (size) ขนาดของจอภาพจะวัดเป็นแนวทแยงมุม เช่น จอ 19 นิ้ว และแบบ 21 นิ้ว
          นอกจากนี้จอภาพยังสามารถเลือกความสว่าง (brightness) และความเปรียบเทียบต่าง (contrast) ได้อีกด้วย การแสดงผลของจอภาพนั้นจะต้องมีการ์ดแสดงผล เป็นตัวประสานงานระหว่างซีพียูกับจอภาพ โดยสัญญาณภาพจะถูกส่งออกมาจากการ์ดแสดงผลนี้ จอภาพโดยทั่วไปจะมีพอร์ตต่อแบบวีจีเอ (Video Graphics Array : VGA) ซึ่งเป็นตัวรับสัญญาณแอนะล็อกมาจากการ์ดแสดงผล จอภาพบางรุ่นจะมีพอร์ตต่อแบบดีวีไอ (Digital Video Interface : DVI) ซึ่งเป็นการรับข้อมูลภาพแบบดิจิทัลซึ่งจะให้ภาพที่คมชัดกว่า

3.5 การรับประกันอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จะมีการรับประกันอายุการใช้งาน อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีระยะเวลารับประกันต่างกัน เช่น แรม รับประกันตลอดอายุการใช้งาน (life time) และฮาร์ดดิสก์อาจรับประกัน 1-5 ปี โดยอายุของการรับประกันที่นานขึ้น อาจมีผลทำให้ราคาสูงขึ้น บนอุปกรณ์บางชนิดจะมีสติ๊กเกอร์รับประกันติดอยู่บนตัวอุปกรณ์ซึ่งหากมีการฉีกขาด การรับประกันจะสิ้นสุดลงทันที ดังนั้นจึงควรระมัดระวังเมื่อเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ

3.6 ข้อแนะนำการดูแลและบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
          1. ไม่ควรเปิดฝาคอมพิวเตอร์โดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจมีโลหะที่นำไฟฟ้าเข้าไปในเครื่องทำให้เกิดการลัดวงจร หรือมีฝุ่นเข้าไปในตัวเครื่อง ฝุ่นนี้จะเป็นตัวเก็บความชื้นทำให้วงจรคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดได้
          2. ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะส่งผลให้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น
          3. ไม่ควรตั้งคอมพิวเตอร์ใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง เนื่องจากอาจโดนแสดงแดดหรือฝนสาดเข้ามาได้
          4. ไม่ควรวางจอคอมพิวเตอร์ใกล้กับสนามแม่เหล็ก หรือลำโพงตัวใหญ่ๆ เนื่องจากสนามแม่เหล็กจะทำให้การแสดงภาพผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
          5. ถ้าหากที่บ้านไฟตกหรือมีไฟกระชาก ควรมีเครื่องสำรองไฟยูพีเอส (Uninterruptible power supply : UPS)
          6. ควรตั้งโหมดประหยัดพลังงานให้กับเครื่อง เพื่อถนอมอายุการใช้งานเครื่อง การทำงานในโหมดนี้จะทำให้ฮาร์ดดิสก์และซีพียูทำงานน้อยลงเมื่อไม่มีการใช้เครื่องในระยะเวลาที่กำหนด
          7. ไม่ควรวางของเหลวใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
          8. ไม่ควรปิดเครื่องโดยการกดสวิตซ์ปิด ควรใช้คำสั่งปิดระบบปฏิบัติการ เนื่องจากระบบปฏิบัติการต้องดำเนินการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานต่างๆ ของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ก่อนจะหยุดการทำงาน
3.7 การแก้ปัญหาเบื้องต้นของพีซี
          เครื่องคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นอุปกรณ์ที่ทนต่อการใช้งาน ถ้าหากใช้งานเครื่องอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตามมีบางปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง เช่น
          1. เครื่องหยุดทำงานขณะใช้งานอยู่ 
          สาเหตุ แหล่งจ่ายไฟจ่ายกำลังไฟฟ้าไม่พอ อาจเกิดจากมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก
          การแก้ไข นำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นที่ต่อพ่วงอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ออกไป หรือเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังไฟฟ้ามากขึ้น
          2. เปิดเครื่องแล้วปรากฏข้อความว่า “DISK BOOT fAILURE, INSERT DISK SYSTEM PRESS ENTER”
          สาเหตุ เครื่องบูตไม่พบฮาร์ดดิสก์ หรือระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์เสียหาย
          การแก้ไข ตรวจสอบโปรแกรมไบออสว่า บูตฮาร์ดดิสก์ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ หรือติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์
          3. อ่านหรือเขียนแผ่นซีดี / ดีวีดีไม่ได้
          สาเหตุ หัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟสกปรก
          การแก้ไข ให้ใช้แผ่นซีดีทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใส่แผ่นซีดีสำหรับทำความสะอาดเข้าไปในไดร์ฟ แปรงขนาดเล็กที่อยู่ใต้แผ่นซีดีจะปัดทำความสะอาดหัวอ่านเลเซอร์ของไดร์ฟ
          4. เครื่องรีสตาร์ต (restart) เองขณะใช้งาน
          สาเหตุ ซีพียูมีความร้อนสูง
          การแก้ไข ตรวจสอบพัดลมของซีพียูว่าทำงานหรือไม่ สายที่ต่ออยู่แน่หรือไม่


Reference ภาพบางส่วน : http://www2.krusunanta.net

ภาพประกอบจากหนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ี 5 อินเทอร์เน็ต

บทที่ี 5 อินเทอร์เน็ต 
อินเทอร์เน็ต
5.1.1ความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรธุรกิจ หน่วยงานของรัฐบาลสถานศึกษา ตลอดจนเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อมูล สารสนเทศ สินค้าและบริการที่นำเสนอผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เหล่านี้สามารถ เข้าถึงได้จากคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อื่นๆ จากที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน สำนักงาน โรงเรียน ชายทะเล หรือร้านอาหารทั่วโลก
ในปัจจุบันมีคนจากทั่วโลกนับพันล้านคนที่เข้าถึงบริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น เวิลด์ไวด์เว็บ อีเมล (e-mail) พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ห้องคุย (chat room) การส่งสารทันที (instent messaging) และวอยซ์โอเวอร์ไอพีหรือวีโอไอพี (Voice over IP: VoIP)
คำอธิบาย: http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTyEjixVpnkU62FGWkYITROYQCwcxb_EAUqGXDt2k_F-VNEKrJQ
เวิลด์ไวด์เว็บ               ห้องคุย           พาณิชอิเล็กทรอนิกส์
                                                   รูปที่ 5.1 ตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ต

5.1.2โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่เชื่อมโยงเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครือข่ายอื่นด้วยความเร็วและคุณภาพที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการสื่อสาร และสื่อที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย เช่น สายโทรศัพท์ สายไฟเบอร์ออพติกและคลื่นวิทยุ ถึงแม้ในปัจจุบันพื้นที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเทอร์เน็ตก็ยังคงเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ หน่วยงานทั้งของรัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการดูแล และจัดการจราจรข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในเฉพาะเครือข่ายที่รับผิดชอบ
คำอธิบาย: http://www.thaigoodview.com/files/u42509/ISP_1__1_.gif
                                         รูปที่5.2 โครงสร้างพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต

คำอธิบาย: http://school.obec.go.th/ckn/network2/pic10.gif
                                                        รูปที่ 5.3การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

5.1.3การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นคนทำงาน นักเรียน หรือนักศึกษา มักจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายของหน่วยงาน โรงเรียนหรือมหาวิยาลัย ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ขณะที่ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยใช้โมเด็มผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วต่ำ หรืออาจเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (broadband Internet connection) เช่น เอดีเอสแอล (Asymmetric Digital Subscriber Line : ADSL) เคเบิลโมเด็มที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเคเบิลทีวี หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
สถานที่สาธารณะหลายแห่ง เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย สนามบิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม มักจะมีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์แบบพกพาสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้โดยสะดวก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน้ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และสามารถเทลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
คำอธิบาย: http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSlW6mG8OS4V3X0OKN8bMcTf2a6bNBAk_8xa7sxWsUBWQWmaV3B
                                  รูปที่5.4ตัวอย่างการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านผู้ให้บริการ

- ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ โดยอาจคิดค่าบริการเป็นรายเดือน บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที ซีเอส ล็อกซ์อินโฟ กสท โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที และ สามารถเทเลคอม นอกจากนี้ไอเอสพียังให้บริการเสริมอื่นๆ เช่น อีเมล์ เว็บเพจ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
5.1.4การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ต มีคุณลักษณที่แตกต่างกัน เช่น ประเภทของคอมพิวเตอร์ ซีพียู หรือระบบปฏิบัติการนอกจากนี้รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เข้าสู่อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแลนหรือแวนก็อาจมีรูปแบบที่แตกต่างกัน การที่อินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากใช้โพรโทคอลเดีวยกันในการสื่สารที่เรียกว่า ทีซีพี/ไอพี(Transmission Control Protocol: TCP/IP)
เลขที่อยู่ไอพี เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันบนอินเตอร์เน็ต จะมีหมายเลขอ้างอิงในการติดต่อสื่อสารเรียกว่า เลขที่อยู่ไอพีหรือไอพีแอดเดรส(IP address)ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันเลย โดยไอพีแอดเดรสประกอบด้วยเลข4ชุด ซึ่งแยกกันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น 202.29.77.155 ซึ่งเป็นไอพีแอดเดรสของเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมดารสอนวืทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ระบบชื่อโดเมน เนื่องจากเลขที่อยู่ไอพีอยู่ในรูปของชุดตัวเลขซึ่งยากต่อการจดจำและอ้างอิงระหว่างการใช้งานดีงนั้นจึงกำหนดให้มีระบบชื่อโดเมน(Domain Name System: DNS)ซึ่งแปลงเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นชื่อโดเมนที่อยู่ในรูปของชื่อย่ออังกฤษหลายส่วนคั่นด้วยเครื่องหมายจุด
คำอธิบาย: รูปภาพแสดงการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
                                รูปที่5.5การติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตโดยใช้โพรโทคอล ทีซีพี/ไอพี




เวิลด์ไวด์เว็บ 
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่าเอชทีทีพี (Hypertext Transfer Protocol : HTTP) นอกจากนี้เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม ได้นิยามคำว่าเว็บคือ จักรวาลของสารสนเทศที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย และทำให้เกิดองค์ความรู้แก่มนุษย์ชาติ สำหรับคำที่เกี่ยวข้องกับเวิลด์ไวด์เว็บที่ควรทราบ เช่น
- เว็บเพจ (Web page) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hypertext Markup Language : HTML) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นได้ โดยเรียกดูผ่านเว็บเบราว์เซอร์
- เว็บไซต์ (Web site) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอล (Uniform Resource Locator : URL) ระบุตำแหน่งของเว็บเพจ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะส่งเว็บเพจที่ค้นหาได้กลับไปแสดงผลผ่านเว็บเบราว์เซอร์ของผู้ใช้


5.8ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์

5.2.1การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ (hyperlink) หรือเรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน้ต นอกเหนือไปจากการสื่อสารหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครือข่าย ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ เช่น Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, Apple Safari, Google Chrome และ Opera


รูปที่5.9 ยูอาร์แอลและโฮมเพจของโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน2

5.2.2ที่อยู่เว็บ ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล (Unifrom Resource Locator: URL)
โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพี และเอฟทีพี (File Transfer Protocol: FTP) ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้ เนื่องจากถ้าไม่ระบุโพรโทคอล เว็บเบราว์เซอร์จะเข้าใจว่าผู้ใช้มีความประสงค์จะใช้โพรโทคอล เอชทีทีพีเพื่อเข้าถึงเว็บเพจ
ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมน www.ipst.ac.th
เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
- ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์เสียง
ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ได้ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ/หรือชื่อไฟล์เป็นการเข้าถึงชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ เช่น index.html , main.php และ default.asp

รูปที่5.10ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา

5.2.3การค้นหาผ่านเว็บ 
โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ซเอนจิน (SEARCH ENGINES)ใช้สำหรับค้นหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ (keyword) เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภท หลากหลายรูปแบบ เพื่อการศึกษาหรือเพื่อความบันเทิงได้อย่างรวดเร็ว
โปรแกรมค้นหาสามารถให้บริการค้นหาข้อมูลตามประเภท หรือแหล่งข้อมูล เช่น ค้นหาเฉพาะข้อมูลที่เป็นภาพ วีดิทัศน์ เสียง ข่าว แผนที่ หรือบล็อก โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกมอาจใช้วิธีที่ต่างกันในการจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจกับคำหลักที่ระบุ โดยเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกับคำหลักมากที่สุดจะอยุ่ในอันดับบนสุด ตัวอย่างโปรแกรมค้นหา เช่น Ask, AltaVista, Bing, Excite, Google และ Yahoo
ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหา (search engine operators) ประกอบกับคำหลัก จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น

5.2.4เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0
เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียวไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัย และมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากข้อจำกัดหลายประกาย เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีระบบเครือข่ายช่องทางในการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ อีกทั้งจำนวนผู้สร้างเว็บมีอยู่เป็นจำนวนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เข้าถึงเว็บเพื่อบริโภคข้อมูลและสารสนเทศ
ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้การบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่ปรากฏบนเว็บเพจ เช่น การโพสต์ข้อความ รูปภาพ วีดิทัศน์ ความคิดเห็น การจัดอันดับ ด้วยความแตกต่างที่พบได้เหล่านี้ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web 2.0)
ลักษณะเด่นที่พบในเว็บ 2.0 ที่แตกต่างจากในเว็บ 1.0 เช่น มีการสร้างเครือข่ายทางสังคมผ่านเว็บไซต์ มีการพัฒนาความร่วมมือแบบออนไลน์ มีการแบ่งปันข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้ใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต รวมถึงมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาเพิ่มมากขึ้น

เว็บ1.0 ผู้ใช้ทำได้เพียงแค่อ่าน และเข้าชมเนื้อหาในเว็บไซต์ได้เพียงอย่างเดียว
เว็บ2.0 ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏบนเว็บเพจ
เว็บ3.0 ผู้ใช้จะระบุความต้องการในการค้นหาข้อมูลแล้วเว็บเชิงความหมายจะร่วมกันประมวลผลเพื่อเสนอ 



บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
5.3.1ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล์ (e-mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความและไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่รับใช้รับและส่งจดหมาย
มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล์
1. ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล
2. เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc
5. อย่าใช้อักษรภาษอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน
6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน
7. ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก
9. ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น
10. ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟื่อยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้
 
รูปที่ 5.11 ตัวอย่างการเขียนอีเมล์ที่ถูกต้อง
5.3.2การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และวอยซ์โอเวอร์ไอพี
- แชท (chat) เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คน หรือระหว่างกลุ่มบุคคล โดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์ เช่น Windows Live และ Yahoo messenger

รูปที่5.12 โปรแกรมแชท

- ห้องคุย (chat room) เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อที่สนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งไฟล์ หรือการใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสาร ตัวอย่างห้องคุยเช่น CHATABLANCA
- วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี (Voice over IP : VoIP) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผุ้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์โอเวอร์ไอพีใช้อินเทอร์เน็ตเในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หรือพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทาง

รูปที่ 5.13วอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี
5.3.3เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (social networking Web sites) เป็นชุมชนออนไลน์มี่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ช้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ ตัวอย่างเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม เช่น Facebook , myspace , Linkedin , hi5 และ GotoKnow

รูปที่5.14 ตัวอย่างเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม

บล็อก (blog) เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฎในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบน คำว่า "บล็อก" มาจากคำว่า "เว็บล็อก"เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปแบบของข้อความ ภาพ หรือมัลติมีเดียได้ ตัวอย่างของบล็อก เช่น Blogger, GoogleBlog และ Bloggang

รูปที่5.15 ตัวอย่างบล็อก

ไมโครบล็อก (microblog) เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือตามสมาชิกอื่นได้ ตัวอย่างไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer , Jaiku, และ tumblr

รูปที่5.16 ตัวอย่างไมโครบล็อก

วิกิ (wiki) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวิติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wikipedia, Wikibooks

รูปที่5.17 วิกิ

อาร์เอสเอส (Really Simple Syndication : RSS) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ (subscribe) ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆ โดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลที่แตกต่างกันไป ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่มีการให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัตินี้ โดยคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ หรือ ที่ปรากฎบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าง เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกต่อการเข้าถึง โดยมีอาร์เอสเอสรีดเดอร์ (RSS reader) ทำหน้าที่คอยติดตามการปรับปรุงข้อมูลที่ได้ขอรับบริการไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมุลที่ผู้เผยแพร่ได้มมีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้โดยตรง ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่สนใจที่มีอยู่มากมายได้อย่างครบถ้วน

รูปที่5.17 การใช้RSS

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างเช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบการค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อหนังสือได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือที่มีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน

รูปที่5.17 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คำอธิบาย: http://www.si.mahidol.ac.th/antivirus/admin/news_images/113_1.jpg
รูปที่5.18 การแพร่กระจายของไวรัส


โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
ขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต มักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า มัลแวร์ (malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น
ไวรัส (virus) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แฟรซไดร์ฟ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เวิร์ม (worm) หรือหนอนคอมพิวเตอร์เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง หรือหยุดทำงาน
ม้าโทรจัน (trojan horse) เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่นๆ เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือ โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์
คำอธิบาย: http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTireA1McyO1v638jDApPHSa2xxBNwcuYcR6cD9UvQYnGlghX4Vds-fK0pK-w
รูปที่5.19 โปรแกรมป้องกันคีย์ล็อกเกอร์
สปายแวร์ (spyware) เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง เช่น คีย์ล็อกเกอร์ (key-logger) เป็นสปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต หรือใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้
แอดแวร์ (adware) เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าตางป๊อปอัพ (pop-up) ที่มีการโหษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ
คำอธิบาย: http://www.remove-virtumonde.com/wp-content/uploads/2009/04/virtumonde-pop-ups1.jpg
รูปที่5.20 ตัวอย่างแอดแวร์ 

สแปม (spam) เป็นการใช้ระบบส่งอีเมล์ในกานส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโหษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมล์ที่เรียกว่า เมล์ขยะ (junk mail) นอกจากนี้อาจมีการส่งผ่านสื่ออื่นๆ เช่น การส่งสารทันที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ โปรแกรมค้นหา บล็อก หรือวิกิ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรบกวนการใช้สื่อเหล่านั้น
คำอธิบาย: http://www.pantip.com/tech/basic/topic/BA2923577/image/BA2923577_2.jpg
รูปที่5.21 เมล์ขยะ



ผลกระทบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต 
บริการบนอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาให้มีรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย ผู้ใช้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งเพื่อการศึกษา การทำงาน ความบันเทิง หรือเพื่อตอบสนองความสนใจอื่นๆ สามารถช่วยลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้ที่อยู่ในถิ่นห่างไกล ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในเชิงวิชาการ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากสังคมแบบเดิมที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มบุคคลที่มีความใกล้ชิดกันในเชิงภูมิศาสตร์ ในหมู่บ้าน เมือง ประเทศ หรือภูมิภาคเดียวกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นสังคมใหม่ที่เรียกว่า สังคมในโลกไซเบอร์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงระยะทางและเวลาที่แตกต่างกัน 
คำอธิบาย: http://www.dailynews.co.th/content/images/1008/06/16/p1.jpgคำอธิบาย: http://www.thaigoodview.com/files/u29997/203010.jpg
รูปที่5.22 การใช้งานอินเทอร์เน็ต 

เนื่องจากสมาชิกของโลกไซเบอร์สามารถสร้างตัวตนใหม่ที่อาจมีบุคลิก นิสัย รูปลักษณ์หรือแม้แต่อายุที่แตกต่างไปจากตัวตนที่แท้จริง จึงอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด ทำให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ เช่น
1. ปัญหาสุขภาพและความสัมพันธ์ทางสังคม 
ผู้ใช้งานอินทรอเน็ตติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาโรค ติดต่ออินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง มีอาการที่ต้องสงสัย เช่น มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง เป็นเวลานานมากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกหงุดหงิด หดหู่ กระวนกระวายเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้คิดว่าเมื่อได้ใช้อิน เทอร์เน็ตแล้วจะทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่โดยความเป็นจริงแล้วการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานก่อให้เกิดผลเสียต่อ ร่างกาย เช่น ปวดเมื่อยตามตัว ข้อมือ และเหนื่อยล้าทางสายตา นอกจากนี้ยังทำให้ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว เพื่อ หรือการพบปะผู้คนในสังคมลดน้อยลง
2. ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น 
เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆกับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ หรือข้อมูลในทางที่มิชอบต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้วางใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ 
ขโมยข้อมูลส่วนบุคคล โดยการใช้ช่องทางการสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป้นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้วางใจ หรือหลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
การเผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่างๆ โดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น ผ่านเกมส์ออนไลน์ ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัสเจาะเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดอินเทอร์เน็ตไฟล์ไวรัสจะแสดงภาพอนาจารตางๆ หรือผ่านโปรแกรมค้นหา โดยการตั้งคำหลักที่หลากหลายให้กับภาพอนาจาร เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำหลักที่ตรงกับที่ได้ตั้งไว้ก็จะปรากฎภาพอนาจารในผลที่ได้จากการสืบค้นข้อมูล
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgLcOWqEm4tkx1c0Ic7Dmg2LSO8lt-lMHvH0xUniGvYguIQANPQO_nmVmADrBaq3qAxDGKaYc5DDe_FhAsk0iUWTB5jGmnoIprm3cEdURSzRtOnY2PPr8EMncvtkQbWeGo6j9JQNcSCoy7c/s1600/A9686694-3.jpg
รูปที่5.23 เว็บหลอกลวงเป็นเว็บธนาคาร

3. ปัญหาการล่อลวงในสังคม 
จากการที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง 
เพื่อให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้กับสังคม มีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต ผู้ใช้ควรเลือกแสวงหาความรู้และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะสิ่งถูกและผิด มีความหนักแน่นในศีลธรรม ไม่ลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนใจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายหรือผลเสียที่อาจได้รับ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกิดเหตุ และใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข 
คำอธิบาย: http://www.sarnrak.net/html/Hi%20Webmaster/asian%20dad%20son%20PC.jpg คำอธิบาย: http://www.thoentoday.com/private_folder/New54/01836_002.jpg