เนื่อหา

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT )


เทคโนโลยีสารสนเทศ 
(Information Technology : IT )





                   การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ ฯลฯ



เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น 



สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ข้อมูลดังกล่าวต้องผ่านการเก็บรวบรวม จัดเก็บ ตรวจสอบความถูกต้อง แบ่งกลุ่มจัดประเภทของข้อมูล และสรุปออกมาเป็นสารสนเทศ และมนุษย์นำเอาสารสนเทศนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น รายงาน ผลงานการวิจัย ข่าวสารต่าง 


                    

                     องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 

                     องค์ประกอบของระบบสารสนเทศซึ่งเป็นระบบสนับสนุนการบริหารงาน การจัดการและปฏิบัติการของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคล ระดับกลุ่มหรือระดับองค์กรหไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวมเป็น 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และขั้นตอนการปฏิบัติงาน 






1. ฮาร์ดแวร์
       ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ รวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย




2. ซอฟต์แวร์ 


          ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สอง ซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของชุดคำสั่งที่สั่งงานให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งาน ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ควบคุมระบบงาน ซอฟต์แวร์สำเร็จทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับบุคคลเป็นไปอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมการทำงานของกลุ่มมากขึ้น ส่วนงานในระดับองค์กร ส่วนใหญ่มักจะมีการพัฒนาระบบตามความต้องการ โดยการว่าจ้างบริษัทที่รับพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือโดยนักคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร เป็นต้น



         



    โปรแกรมคอมพิวเตอร์์























3. ข้อมูล 
                  ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ เป็นตัวชี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของระบบได้ เนื่องจากต้องมีการเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิด ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและทันสมัย มีการกลั่นกรองและตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์กร ข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ






4. บุคคลากร
           บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญในความสำเร็จของระบบสารสนเทศ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใด โอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะระบบสารสนเทศในระดับบุคคลซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามความต้องการ สำหรับระบบสารสนเทศในระดับกลุ่มและองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก อาจจะต้องใช้บุคลากรในสาขาคอมพิวเตอร์โดยตรงมาพัฒนาและดูแลระบบงาน



ผู้พัฒนาระบบ




5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
              ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของผู้ใช้หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่ง เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วจำเป็นต้องปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอน ในขณะใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนการปฏิบัติของคนและความสัมพันธ์กับเครื่อง ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น ขั้นตอนการบันทึกข้อมูล ขั้นตอนการประมวลผล ขั้นตอนปฏิบัติเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลเสียหาย และขั้นตอนการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะต้องมีการซักซ้อม มีการเตรียมการ และการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน 

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน






วีดีโอ ตัวอย่าง ระบบสารสนเทศ











ประโยชน์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

       
        1. ด้านการศึกษา 
           เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการศึกษา  เช่น  ระบบการลงทะเบียน  และระบบการจัดตารางสอน  นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน  ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการศึกษา

1. การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ทำให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกันกับผู้ที่อยู่ในเมือง
2.  บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ  เช่น  ฟิสิกส์  เคมี  ชีววิทยา  ภาษาต่างประเทศ  ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น  และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น  เช่น  การแสดงสถานการณ์จำลอง  แบบจำลอง  ภาพเคลื่อนไหว  แสงสี  และเสียงประกอบ  นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน  หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
3.  บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์  เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู





  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม



                     2.ด้านการแพทย์และสาธารณสุข



               เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เริ่มตั้งแต่การทำทะเบียนคนไข้  การรักษาพยาบาลทั่วไป  ตลอดจนการวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ  ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ  นอกจากนี้ยังใช้ในห้องทดลอง  การศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์  งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี  สามารถค้นคว้าข้อมูลทางการแพทย์  รักษาคนไข้ด้วยระบบการรักษาทางไกลตลอดเวลาผ่านเครือข่ายการสื่อสาร  เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อีเอ็มไอสแกนเนอร์ (EMI scanner)  ถูกนำมาใช้ถ่ายภาพสมองมนุษย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติในสมอง  เช่น  ดูเนื้องอก  พยาธิเลือดออกในสม  และต่อจามาได้พัฒนาให้ถ่ายภาพหน้าตัดได้ทั่วร่างกาย  เรียกชื่อว่า  ซีเอที  (CAT-Computerized Axial  Tomography scanner: CAT  scanner)  ใช้วิธีฉายแสงเป็นจังหวะไปรอบๆ  ร่างกายของมนุษย์  ถ่ายเอกซ์เรย์และเครื่องรับแสงเอกซ์เรย์ที่อยู่ตรงข้ามจะเปลี่ยนแสงเอกซ์เรย์ให้เป็นสัญญาณไฟเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก  จากนั้นจะนำสัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เข้าไปวิเคราะห์ในเครื่องคอมพิวเตอร์  และแสดงผลลัพธ์เป็นภาพทางจอโทรทัศน์หรือพิมพ์ภาพออกมาทางเครื่องพิมพ์  ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการแพทย์และสาธารณสุข 


ด้านการแพทย์และสาธารณสุข








                         3. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม 

                   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรกรรม  เช่น   การจัดทำระบบข้อมูลเพื่อการเกษตรและพยากรณ์ผลผลิตด้านการเกษตร  นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม  การประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ทำงานบ้าน  และหุ่นยนต์เพื่องานอุตสาหกรรมที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  เช่นโรงงานสารเคมี  โรงผลิตและควบคุมการจ่ายไฟฟ้า  รวมถึงงานที่ต้องทำซ้ำๆ  เช่น  โรงงานประกอบรถยนต์  และโรงงานแบตเตอรี่  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการผลิตและควบคุมคุณภาพสินค้า  การส่งสินค้าตามใบสั่งสินค้า  การควบคุมวัสดุคงคลัง  และการคิดราคาต้นทุนสินค้า  ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านอุตสาหกรรม 



ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม 






                        4. ด้านการเงินการธนาคาร
                   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้ในด้านการเงินและการธนาคาร  โดยใช้ช่วยงานด้านการบัญชี  การฝากถอนเงิน  โอนเงิน  บริจาคสินเชื่อ  แลกเปลี่ยนเงินตรา  บริการข่าวสารการธนาคาร  การใช้คอมพิวเตอร์ด้านการเงินการธนาคารที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป  เช่น  บริการฝากถอนเงิน  การโอนเงินแบอิเล็กทรอนิกส์ 





ด้านการเงินการธนาคาร




                     5. ด้านความมั่นคง  
              มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย  เช่น  ใช้ในการควบคุมประสานงาน  วงจรสื่อสารทหาร  การแปลรหัสลับในงานจารกรรมระหว่างประเทศ  การส่งดาวเทียมและการคำนวณวิถีการโคจรของจรวดไปสู่อวกาศสำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยมรศูนย์ประมวลข่าวสาร  มีระบบจัดทำทะเบียนปืน  ทะเบียนประวัติอาชญากร  ทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสืบสวนคดีต่างๆ  ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านความมั่นคง

                                      เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านความมั่นคง



                                

                               6. ด้านการคมนาคม 
                   มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในส่วนที่เกี่ยวการเดินทาง  เช่น  การเดินทางโดยรถไฟ  มีการเชื่อมโยงข้อมูลการจองที่นั่งไปยังทุกสถานี  ทำให้สะดวกต่อผู้โดยสาร




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการคมนาคม


                           

                                 7.ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม
                 มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการออกแบบ  หรือจำลองสภาวการณ์ต่างๆ  เช่น  การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว  โดยการคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง  ตัวอย่างซอฟต์แวร์คำนวณการเกิดแผ่นดินไหว

  


ซอฟต์แวร์คำณวนการเกิดแผ่นดินไหว

                  8. ด้านการพาณิชย์ 
            องค์กรในภาคธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการ  เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับองค์กรในการทำงาน  ทำให้การประสานงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ  ของแต่ละหน่วยงานในองค์กร  หรือระหว่างองค์กรเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ปรับปรุงการให้บริการกับลูกค้าซึ่งเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีขององค์กรต่อลูกค้าทั่วไป  สิ่งเหล่านี้นับเป็นการสร้างโอกาสความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร  ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในด้านการพาณิชย์  เช่น  การให้บริการชำระค่าสินค้าผ่านจุดชำระค่าบริการ  การสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต  และการตรวจสอบราคาสินค้าผ่านเครื่องอ่านราคาสินค้า




การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในด้านการพาณิชย์ 










แนวโน้มการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


                         1. ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
                       เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสือสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ  เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆ ได้  นอกจากการพูดคุยธรรมดา  โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป  ฟังเพลง  ฟังวิทยุ  ดูโทรทัศน์  บันทึกข้อมูลสั้นๆ  บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital  Assistant: PDA)




อุปกรณ์สื่อสารและสารสนเทศแบบพกพา


                      

       2. ด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
              ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว  (stand alone)  ดังรูปที่  1.26  ต่อมามีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร 




การใช้งานระบบเครือข่ายแบบไร้สาย



                                    3 . ด้านเทคโลยี
                   ระบบทำงานอัตโนมัติที่สามารถตัดสินใจได้เองจะเข้ามาแทนที่ได้มากขึ้น  เช่น  ระบบแนะนำเส้นทางจราจร  ระบบจอดรถ  ระบบตรวจหาตำแหน่งของวัตถุ  ระบบควบคุมความปลอดภัยภายในอาคาร  ระบบที่ทำงานอัตโนมัติเช่นนี้  อาจกลายเป็นระบบหลักในการดำเนินการของหน่ายงานต่างๆ  โดยเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์  มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอย่างกว้างขวางไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน


ตัวอย่างระบบจอดรถอัตโนมัติ






ความเปลี่ยนแปลงจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร

                     
                           1. ด้านสังคม  
              สภาพเหมือนจริง  การใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงการทำงานต่างๆ  จนเกิดเป็นสังคมที่ติดต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต  หรือที่รู้จักกันว่า  ไซเบอร์สเปช  (cyber space)  ซึ่งมีกิจกรรมต่างๆ  เช่นการพูดคุย  การซื้อสินค้า  และบริการ  การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดสภาพที่เสมือนจริง  (virtual) 

  
                 ตัวอย่างภาพเสมือนจริง




                    2. ด้านเศรษฐกิจ 
                    เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารส่งผลให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์  (globalization)  เพราะสามารถชมข่าว  ชมรายการโทรทัศน์ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ  ได้ทั่วโลก  สามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที  ใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน







ิ                                     


                                    3.  ด้านสิ่งแวดล้อม 
                          เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  มีประโยชน์ในด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น  ระบบป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง  โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  หรือภาพถ่ายทางอากาศร่วมกับการจัดเก็บรักษาข้อมูลระดับน้ำทะเล  ความสูงของคลื่นจากระบบเรดาร์  เป็นการศึกษาเพื่อหาสาเหตุ  และนำข้อมูลมาวางแผนและสร้างระบบเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแต่ละแห่งได้อย่างเหมาะสม







ตัวอย่างอาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


นักเขียนโปรแกรมหรือโปรแกรมเมอร์  (Programmer) 

                ทำหน้าที่ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานด้านต่างๆ  เช่นโปรแกรมเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า  โปรแกรมที่ใช้กับงานด้านบัญชี  หรือโปรแกรมที่ใช้กับระบบงานขนาดใหญ่ขององค์กร

Programmer


นักวิเคราะห์ระบบ  (System  analyst) 
                         ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์  และพัฒนาระบบสารสนเทศ  นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน  ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย





  ผู้ดูแลและบริหารฐานข้อมูล  (database  administrator) 

                            ทำหน้าที่บริหารและจัดการฐานข้อมูล  (database )  รวมถึงการออกแบบ  บำรุงรักษาข้อมูล  และการดูแลระบบความปลอดภัยของฐานข้อมูล  เช่น  การกำหนดบัญชีผู้ใช้การกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้




database  administrator








 ผู้ดูแลและบริหารระบบ (system  administrator) 
                         ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร  โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ  การติดตั้งฮาร์ดแวร์  การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์  สร้าง  ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้  สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย 








 ผู้พัฒนาและบริหารระบบเว็บไซต์ (webmaster)
                           ทำหน้าที่ออกแบบพัฒนา  ปรับปรุงและบำรุงรักษาเว็บไซต์ให้มีความทันสมัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ



webmaste



  เจ้าหน้าที่เทคนิค (technician)


                    ทำหน้าที่ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์  ติดตั้งโปรแกรม  หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ต่างๆ  และแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้งานอุปกรณืคอมพิวเตอร์ในองค์กร





technician



นักเขียนเกม  (game maker) 
                ทำหน้าที่เขียนหรือพัฒนาโปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันนี้การเขียนเกมคอมพิวเตอร์  เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศไทย